แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2558
.png)
นโยบาย สพฐ. 2558
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท
เป้าประสงค์ที่ 1 นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษามีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยและได้สมดุล และนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัยและมีคุณภาพ
กลยุทธ์
1. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท ให้มีประสิทธิภาพ
2. ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม และ สาธารณชน มุ่งพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมกับวัยทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นของนักเรียนที่สถานประกอบการต้องการและที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย
3. สนับสนุนการจัดสรรงบประมาณ ในรูปแบบที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ รวมถึงระดับและประเภทของผู้เรียน
4. ส่งเสริมการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคมท้องถิ่น และผู้เรียน
5. ใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
6. จัดระบบนิเทศ ติดตามผล และรายงานผล ให้มีความเข้มแข็งและต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม และหลากหลายมิติ เน้นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร
7. สนับสนุนให้มีการแนะแนวผู้เรียน ให้มีแรงจูงใจในการเรียนเพื่อการเรียนต่อและการมีอาชีพสุจริตเพื่อความมั่นคงในชีวิต ด้วยผู้แนะแนวที่หลากหลาย เช่น ครู ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งที่เป็นผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ผู้ที่ทำงานสถานประกอบการใน/นอกพื้นที่
8. ส่งเสริมสนับสนุนการนำการทดสอบ O-NET การประเมินของ PISAและระบบการทดสอบกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
9. ส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ให้มีความเข้มแข็งเพื่อรองรับการประเมินภายนอก
10. จัดระบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีการเรียนการสอนทั้งวิชาสามัญ และวิชาชีพ เพื่อรองรับการมีอาชีพตั้งแต่การเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
11. ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และภาษาอาเซียนอย่างน้อย ๑ ภาษา เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และสู่มาตรฐานสากล
12. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเรียนต่อ ให้มีวิธีการคัดเลือกที่หลากหลาย สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกเหนือจากการวัดความรู้ และความสามารถในการสอบแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียน ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีคุณภาพ
เป้าประสงค์ที่ 2 ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และเสมอภาค
เป้าประสงค์ที่ 6 พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ
กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ นักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ
2. สนับสนุนการบริหารจัดการงบประมาณ ประเภทงบเงินอุดหนุนรายหัวให้ผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้แบบตามตัวผู้เรียน (Demandside Financing) มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกระดับ และทุกประเภท มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ เรียนจนจบหลักสูตร มีโอกาสเรียนต่อ มีอาชีพที่สุจริตและมั่นคงในชีวิต
4. สนับสนุนโรงเรียนดีมีคุณภาพ ทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ให้เป็นโรงเรียนที่มีรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด อำเภอ ตำบล
5. สนับสนุนให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่พิเศษมีโอกาสจัด การศึกษาด้านวิชาชีพ ทั้งที่จัดเอง และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นการสร้างอาชีพสุจริตให้กับผู้เรียน
6. ส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบปกติรูปแบบเพื่อความเป็นเลิศ รูปแบบเพื่อเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และรูปแบบการศึกษาทางเลือก จัดให้มีความเหมาะสมและเต็มศักยภาพของผู้เรียนและยังคงระดับคุณภาพตามมาตรฐาน
7. ส่งเสริมสนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้มีความเข้มแข็งและต่อเนื่อง
8. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแนวทางการดูแลช่วยเหลือและจัดการศึกษาที่เหมาะสม แก่เด็กด้อยโอกาสที่ไม่อยู่ในทะเบียนราษฎร์เช่น บุตรหลานของแรงงานต่างด้าว เด็กไร้สัญชาติเด็กพลัดถิ่น เด็กต่างด้าวเด็กไทยที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 3 ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นมีทักษะที่เหมาะสม และมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
เป้าประสงค์ที่ 6 พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ
กลยุทธ์
1. พัฒนาองค์ความรู้ และสมรรถนะของครู ผ่านการปฏิบัติจริงและการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
1.1 เผยแพร่องค์ความรู้ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม วิธีการจัดการเรียนการสอน การ พัฒนาการคิด และการวัดประเมินผล ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
1.2 พัฒนาครูที่มีอยู่ให้สามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเองหรือใช้สื่อเทคโนโลยี
1.3 ส่งเสริมระบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรโดยเขตพื้นที่การศึกษา และโดยเพื่อนครู ทั้งในโรงเรียนเดียวกันหรือระหว่างโรงเรียน หรือภาคส่วนอื่น ๆตามความพร้อมของโรงเรียน
1.4 ส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูในพื้นที่ ทั้งในโรงเรียนเดียวกัน ระหว่างโรงเรียน หรืออื่น ๆ และในองค์กร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกหน่วยงาน
1.5 ส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนรู้ได้ในระดับดี
2. พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน
3. เสริมสร้างระบบแรงจูงใจ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังใจในการทำงานสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
3.1 ยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่เป็นครูมืออาชีพ และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ทั้งด้าน
1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้
2) การดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
3) การมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม
3.2 ส่งเสริมความก้าวหน้าของครู ให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและรายได้ของครู
4. ประสานและสนับสนุนให้กับองค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมและจัดสรรครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และสังคม
4.1 สร้างความตระหนักกับองค์กรที่มีบทบาทโดยตรงกับการบรรจุครูในพื้นที่ ถึงความจำเป็นต้องจัดสรรครูให้ตรงวิชาที่โรงเรียนขาดแคลน
4.2 สร้างค่านิยมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ให้รับผิดชอบต่อผลด้านคุณภาพของการจัดการศึกษา
4.3 ประสานสถาบันอุดมศึกษาผลิตครูที่มีวิชาเอกตรงกับความต้องการและสามารถจัดการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ
เป้าประสงค์ที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่คุณภาพระดับมาตรฐานสากล
เป้าประสงค์ที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบูรณาการการทำงาน เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม กระจายอำนาจและความรับผิดชอบสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 6 พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ
กลยุทธ์
1.. กระจายอำนาจและความรับผิดชอบ
1.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีความสามารถและมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 บูรณาการการทำงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนกลาง เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพ ตามบริบทได้เพิ่มขึ้น
1.3 พัฒนาระบบติดตามตรวจสอบ การบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
1.4 สร้างเครือข่าย/กลไกที่สามารถรับรู้ปัญหา และแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณที่ไม่เหมาะสม/ถูกต้อง ตามหลักธรรมาภิบาลได้อย่างรวดเร็ว
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
2.1 เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ถึงความจำเป็น และประโยชน์ของกาส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาการศึกษา
2.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมสนับสนุนทรัพยากร
2.2.1 ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบถึงความต้องการได้รับการช่วยเหลือของโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่ขาดแคลน อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
2.2.2 ประสานทุกภาคส่วนให้เข้ามาช่วยเหลือโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการศึกษา แต่มีความขาดแคลนมาก
2.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบหน่วยงานในสังกัด โดยประชาชนทุกภาคส่วน
2.3.1 สร้างช่องทางรับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/เรื่องร้องเรียน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
2.3.2 ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการทำงานของโรงเรียนในท้องถิ่น และหน่วยงานในสังกัดมากขึ้น
3. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และองค์คณะบุคคล มีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
3.1 ส่งเสริมให้มีการเชิดชูเกียรติสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และองค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่นักเรียนในพื้นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น/อัตราการออกกลางคันลดลง/มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง
3.2 สร้างช่องทางรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับองค์กร/องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง และติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
จุดเน้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดจุดเน้นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 จุดเน้นด้านผู้เรียน
1.1 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ สู่มาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้
1.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความสามารถด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม
1.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นต้นไปได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพ ด้วยการแนะแนว ทั้งโดยครูและผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ(ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า สถานประกอบการใน/นอกพื้นที่) และได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต
1.1.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ(O-NET) กลุ่มสาระหลัก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
1.2 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภูมิใจในความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม
1.2.1 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ใฝ่ดี
1.2.2 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ใฝ่เรียนรู้
1.2.3 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่อย่างพอเพียง
1.2.4 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความมุ่งมั่นในการศึกษา และการทำงาน
1.3 นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริม และพัฒนาเต็มศักยภาพ
1.3.1 เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
1.3.2 เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร และอัตลักษณ์แห่งตน
1.3.3 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีเป็นเลิศ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี และศิลปะ
1.3.4 นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวสถานประกอบการ บุคคล องค์กรวิชาชีพ องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรสังคมอื่น และการศึกษาทางเลือก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
1.3.5 เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเยียวยา ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
ส่วนที่ 2 จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.1 ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และสมรรถนะ ผ่านการปฏิบัติจริงและการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
2.1.1 ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการคิด การวัดประเมินผลของครู ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.1.2 ครูสามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเองหรือใช้สื่อเทคโนโลยี
2.1.3 ครูได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร โดยเขตพื้นที่การศึกษา และโดยเพื่อนครู ทั้งในโรงเรียนเดียวกัน หรือระหว่างโรงเรียนหรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อมของโรงเรียน
2.1.4 ครูได้รับการช่วยเหลือให้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูในพื้นที่ ทั้งในโรงเรียนเดียวกันระหว่างโรงเรียน หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม
2.1.5 ส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนรู้ได้ในระดับดี
2.2 พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน
2.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นมืออาชีพ มีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติอย่างเหมาะสม
2.4 องค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมและจัดสรรครู ตระหนัก และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาบรรจุใหม่/ย้ายไปบรรจุ มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ชุมชนและสังคม
ส่วนที่ 3 จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
3.1 สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เน้นการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน (Participation and Accountability)
3.1.1 โรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกและที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้รับการแก้ไขแทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และประเมินผล โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และเป็นผู้ประสานงานหลักให้โรงเรียนทำแผนพัฒนาเป็นรายโรงร่วมกับผู้ปกครองชุมชน และองค์กรอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง
3.1.2 สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และการมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
3.1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดกำรอย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานมีระบบการนิเทศ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลสถานศึกษาและครูที่เข้มแข็ง
3.1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชิดชูเกียรติโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น/อัตราการออกกลางคันลดลง/มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง
3.1.5 องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเร่งรัดและติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งเป็นกัลยาณมิตร
3.2 สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
3.2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3.2.2 สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายใน ได้ระดับมาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหรือผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
กลยุทธ์ : สพม.13
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม ความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและห่างไกลยาเสพติด
กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และลดอัตราการออกกลางคันให้เป็นศูนย์ โดยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา หลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 6 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสันติสุข ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
10 จุดเน้น : สพม.13
จุดเน้นที่ 1 ส่งเสริมการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
จุดเน้นที่ 2 ส่งเสริมระบบนิเทศภายในและการประกันคุณภาพภายในเพื่อรอบรับการประเมินภายนอกรอบสาม
จุดเน้นที่ 3 ส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เน้นการสร้างวินัยเชิงบวกและเพิ่มทักษะชีวิต (เพศศึกษา)
จุดเน้นที่ 4 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย วัฒนธรรมท้องถิ่นและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
จุดเน้นที่ 5 เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และเน้นทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน
จุดเน้นที่ 6 ส่งเสริมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จุดเน้นที่ 7 ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เพื่อเตรียมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยน
จุดเน้นที่ 8 ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างบรรยากาศที่ร่มรื่น สวยงามของสถานศึกษา
จุดเน้นที่ 9 ส่งเสริมจรรยาบรรณครู และบุคลากรทางศึกษา เพื่อการปฎิบัติงานที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จุดเน้นที่ 10 เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการยกระดับและพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
ทิศทางของโรงเรียน (วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์)
วิสัยทัศน์
โรงเรียนห้วยยอดเป็นผู้นำในด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
พันธกิจ
1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการโดยน้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยระบบคุณภาพ
2. พัฒนาครูและบุคลากร พัฒนาความคิด ความรู้ ความสามารถ และภูมิปัญญา เพื่อนำองค์กรสู่มาตรฐานสากล
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความคิด ความรู้ ความสามารถ และภูมิปัญญาได้มาตรฐานสากล
4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม พัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล
กลยุทธ์ของโรงเรียน
1. ส่งเสริมการบริหารการจัดการด้วยระบบคุณภาพ แบบมีส่วนร่วมเป็นระบบครบวงจร โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและโรงเรียนเป็นฐาน
2. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. พัฒนาให้ครูและบุคลากรมีคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครูและนำองค์กรสู่มาตรฐานสากล
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานสากล
5. พัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการศึกษาสู่มาตรฐานสากล
โครงการ/กิจกรรม
เงินอุดหนุน
ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ
-
บริหารพัสดุและสินทรัพย์
-
พัฒนาสำนักงานบริหารงบประมาณ
-
บริหารงบประมาณค่าสาธารณูปโภค
ฝ่ายบริหารงานวิชาการ
-
พัฒนาบุคลากรในการจัดองค์ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล
-
พัฒนาสายสัมพันธ์สร้างฝันให้เป็นจริง
-
ฝากลูกไว้กับโรงเรียน
-
พัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-
พัฒนาสำนักงานฝ่ายบริหารงานวิชาการ
-
พัฒนาห้องเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้
-
ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
-
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้วยความคิดชาญฉลาดด้วยยุทธศาสตร์ห้วยยอดโมเดล
-
พัฒนาระบบบริหารการจัดการ
ฝ่ายบริหารงานบุคคล
-
ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากร
-
พัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
-
พัฒนาปรับปรุงระบบงานประชาสัมพันธ์
-
การจัดการศึกษาโดยชุมชนมีส่วนร่วม
-
ธนาคารพอเพียง
-
วันสำคัญ
-
ซ่อมบำรุงและให้บริการยานพาหนะ
-
ประกันคุณภาพสถานศึกษา
-
พัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษา
-
พัฒนาสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป
-
ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียนห้วยยอด
ฝ่ายบริหารงานอาคารสถานที่
-
พัฒนาอาคารเรียนและจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
-
สู่แสงตะวัน (ซ่อมเสริมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้านภาษาไทย)
-
ส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
-
กีฬาเพื่อการศึกษาด้านคณิตศาสตร์
-
การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยค่ายคณิตศาสตร์
-
อบรมฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม The Geometer Sketchpad (GSP) เบื้องต้น
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-
Study on tour ตามรอยตรัง
-
พัฒนาสื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-
พัฒนาคุณภาพผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-
เปิดประตูสู่อาเซียน Opening The Door to Asean
-
สังคมสัญจร ย้อนรอยประวัติศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
พัฒนาผู้เรียนและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
-
พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
-
กีฬายาวิเศษ
-
กรีฑาและกีฬาระหว่างคณะสี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
-
ปรับปรุงห้องและจัดซื้ออุปกรณ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
-
พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีก้าวสู่มาตรฐานสากล
-
พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
-
พัฒนาการเรียนภาษาสู่สากล
ห้องสมุด
-
พัฒนาห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
-
กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน( แนะแนว, ชุมนุม,ลูกเสือ-เนตรนารี, ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์)
ฝ่ายบริหารงานแผนงาน
-
พัฒนางานนโยบายและแผน
-
จัดซื้อวัสดุกลาง (โดยผ่านพัสดุกลางโรงเรียน)
เงิน 15 ปีเรียนฟรีเรียนดีอย่างมีคุณภาพ
ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ
-
บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ฝ่ายบริหารงานวิชาการ
-
ตลาดนัดวิชาการ (Academic Market)
-
จัดฐานการเรียนรู้ บูรณาการหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนและอุปนิสัยพอเพียง
-
พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ
-
ค่ายวิชาการ
ฝ่ายบริหารงานบุคคล
-
พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
-
รักการอ่าน
-
พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-
Huai-Yot Math Day
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
-
Science Camp
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-
ค่ายพลเมิองอาเซียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา
-
ค่ายวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
-
ส่งเสริมความเป็นเลิศและบริการชุมชน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
-
ค่ายพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเพื่อความเป็นเลิศมุ่งสู่สากล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
-
เข้าค่ายเตรียมความพร้อมสู่สากล
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
-
กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว ชุมนุม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์)